การพัฒนาวิชาชีพครู (Teaching Profession) ในประเทศญี่ปุ่นได้รับการพัฒนามามากกว่า 152 ปี และมีลักษณะที่แตกต่างจากที่กล่าวมา โดยมีจุดเน้นดังต่อไปนี้
1. เป้าหมายหลักของการพัฒนาอยู่ที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนใน “ชั้นเรียน”
2. พื้นที่ในการพัฒนาใช้ “ห้องเรียนจริง” (Live Classroom)
3. เป้าหมายรองของการพัฒนาอยู่ที่การเรียนรู้ร่วมกันของครู (Teacher Learning) เพื่อจะเข้าใจนักเรียน
4. เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา
(Isoda, 2005; Shimizu, 2006; Inprasitha, 2016)

          การเปิดชั้นเรียนระดับชาติของประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นโดยการนำของ รศ. ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ในนามของผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีประวัติศาสตร์ในการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
          ครั้งที่ 1-4 : ปี 2550-2553 เป็นการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนที่โรงเรียนนำร่องการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด โดยมีรรูปแบบการเปิดชั้นเรียนที่ครูไม่ได้สอนนักเรียนของตนเอง เพื่อเป็นการให้เห็นว่านวัตกรรมดังกล่าวสามารถเริ่มต้นใช้ได้กับนักเรียนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเรียนแบบนี้มาก่อนในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
          ครั้งที่ 5 : วันที่ 30 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2554 จัดขึ้นที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการเปิดชั้นเรียนจำนวน 7 ชั้นเรียน ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นการเปิดชั้นเรียนที่แผนถูกพัฒนามาจากจากการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ “การใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์แนวใหม่” ในโครงการการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) โดย Prof. Masami ISODA และ ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ในช่วงวันที่ 27-29 มีนาคม 2554 โดยเปิดชั้นเรียนโดยครูประจำการ และนักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
          ครั้งที่ 6 : วันที่ 31 มีนาคม 2555 จัดขึ้นที่คณะศึกษาศาสตร์ เป็นการเปิดชั้นเรียนคู่ขนานจำนวน 8 ชั้นเรียน สอนโดยครูประจำการ นักศึกษาฝึกประสบการวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในครั้งนี้ มีชั้นเรียนที่เน้นเกี่ยวกับการใช้กระดานดำ (bunsho) และชั้นเรียนที่ใช้สื่ออิเล็คทรอนิคที่เรียกว่า dbook อีกด้วย
          ครั้งที่ 7 : วันที่ 5 พฤษภาคม 2556 จัดขึ้นที่คณะศึกษาศาสตร์ และอาคารพจน์ สารสิน เป็นการเปิดชั้นเรียนคู่ขนานจำนวน 7 ชั้นเรียน ตั้งแต่ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งในครั้งนี้ได้มีการอบรมการเขียนแผนแยกระดับชั้น เพื่อที่จะสร้างแผนร่วมกันและนำมาใช้ในการเปิดชั้นเรียน
          ครั้งที่ 8 : วันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2557 จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีการปิดชั้นเรียนจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศทั้งญี่ปุ่นและฮ่องกง เป็นครั้งแรกที่ได้มีการเปิดชั้นเรียนระดับชาติในสาระอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสวนาของผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาในโอกาสครบรอบ 10 ปี ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา
          ครั้งที่ 10 : ปี 2559 เป็นครั้งแรกที่มีการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติใน 3 พื้นที่ปฏิบัติงานการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ประกอบด้วย
             -วันที่ 29 มีนาคม 2559 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
             -วันที่ 2 พฤษภาคม2559 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
             -วันที่ 13 พฤษภาคม2559 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
          ครั้งที่ 11 : วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2560 ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีการเปิดชั้นเรียนจากผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 3 ชั้นเรียน คือ สาระวิชาคณิตศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ นอกจากนั้นมีการเปิดชั้นเรียนโดยครูไทยที่มีประสบการณ์ด้านการใช้นวัตกรรมจำนวน 4 ชั้นเรียน
          ครั้งที่ 12 : วันที่ 24-25 มีนาคม 2561 จัดขึ้นที่ห้องประชุมสายสุรี จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีการเปิดชั้นเรียนจากครูในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ ในสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิยาศาสตร์ พละศึกษา นอกจากนั้น ยังมีชั้นเรียนคู่ขนานจากครูไทยจำนวน 5 ชั้นเรียน ในสาระคณิตศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์
          ครั้งที่ 13 : วันที่ 30-31 มีนาคม 2562 จัดขึ้นที่ห้องประชุมสายสุรี จุติกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีการเปิดชั้นเรียนจากครูจากประเทศญี่ปุ่นและฟินแลนด์ ในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ และการงานและเทคโนโลยี นอกจากนั้นยังมีการเปิดชั้นเรียนคู่ขนานโดยครูไทยอีก 4 ชั้นเรียน ในสาระวิชาศิลปะ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
          ครั้งที่ 14 : วันที่ 27-28 มีนาคม 2564 การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 เดิมได้กำหนดขึ้นในวันที่ 20-21 มีนาคม 2563 เป็นการจัดการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ในรูปแบบออนไลน์ (Full Online) ครั้งแรก เนื่องด้วยสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ดังนี้ 1) การเปิดชั้นเรียน 7 ชั้นเรียน จากครูจากประเทศญี่ปุ่น ในสาระวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นเรียนจากครูไทยที่มีประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และบูรณาการ 2) การบรรยายพิเศษจาก prof.Yutaka OHARA และรศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสอน 3) วีดิทัศน์สารคดีบทบาทผู้อำนวยการในการขับเคลื่อนโณงเรียนทั้งระบบ และวีดิทัศน์การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ COVID-19 3) เวทีถามตอบ 4) Virtual Exhibition ของโรงเรียนเครือข่ายศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน
          ครั้งที่ 15 : วันที่ 26-27 มีนาคม 2565 การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 15 รูปแบบออนไลน์ (online) โดยสามารถสมัครเข้าร่วมงานได้ทางเว็บไซต์ www.openclassthailand.com ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการเป็นเวทีให้ผู้สนใจได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เกี่ยวกับ กระบวนการในการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชั้นเรียน โดยการนำเอานวัตกรรม Lesson Study “การศึกษาชั้นเรียน” ซึ่งเป็นนวัตกรรมร่วมกับโครงการ APEC Lesson Study ที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และกลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจ มาใช้ โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาวิธีการสอนด้วยการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ยั่งยืน กิจกรรมภายในงานครั้งนี้ มีหลายกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ 1) การเปิดชั้นเรียน โดยครูผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมการสอนจากในประเทศ จำนวน 6 ชั้นเรียน 2) การบรรยายพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากในประเทศและต่างประเทศ 3) การเสวนาและนำเสนองานวิจัยในชั้นเรียน โดยครูที่ใช้นวัตกรรมการการพัฒนาชั้นเรียน 4) การนำเสนอ Best Practice ในด้านต่างๆ โดยผู้อำนวยการโรงเรียน
          ครั้งที่ 16 : วันที่ 18-19 มีนาคม 2566 การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 16 ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม Thailand Lesson Study incorporated Open Approach ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยเน้นการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนในชั้นเรียน และมีเครื่องมือที่สำคัญคือ “การเปิดชั้นเรียน (Open Class)” ยิ่งทำให้เห็นความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีกว่า ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กิจกรรมแต่เป็น แนวคิดเชิงนวัตกรรมในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ที่ทุกคนเรียนรู้ร่วมกัน (Learning together) ในชั้นเรียนสด (Live Clasroom) กล่าวคือ นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน ครู เรียนรู้ร่วมกันที่จะเข้าใจนักเรียน ผ่านการร่วมมือกันแก้ปัญหา เป็นต้น กิจกรรมในปีนี้ ประกอบไปด้วย 1) การเปิดชั้นเรียน โดย ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมการสอนจากต่างประเทศ และครูไทยที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (TLSOA) 2)การบรรยายพิเศษ จากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3)สารคดี ประวัติการสร้างนวัตกรรม TLSOA 4)การเสวนา โดย ศึกษานิเทศก์และผู้อำนวยการโรงเรียนในการขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (TLSOA) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงระบบ และบุคลากรทางการศึกษาที่นำนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (TLSOA) ไปใช้ในภาคปฏิบัติ 5)นิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition) จากโรงเรียน นักศึกษา และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (TLSOA) กว่า 300 แห่ง
          ครั้งที่ 17 : วันที่ 23-24 มีนาคม 2567 การจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 17 ในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น แล้วพบกันเร็ว ๆ นี้